ประวัติ
พระเปิม ลำพูน
พระเปิม ลำพูนเป็น พระเนื้อดินที่สร้างมาในยุคสมัยเดียวกับพระรอด
พระคง พระบาง พระเลี่ยง ฯลฯ มูลเหตุการสร้างก็ต้องเล่าเรื่องเมืองหริภุญชัย และพระนางจามเทวีแบบคร่าวๆ
ครับ คืออย่างนี้ครับ จากพงศาวดารโยนก จามเทวีวงศ์ ชินกาลมลินี และตำนานมูลศาสนา
พอจะสรุปได้ดังนี้ ว่ามีพระฤๅษี 5 ฅน คือพระสุเทวฤๅษี พระสุกกทันตฤๅษี
พระสุพรหมฤๅษี พระนารทะฤๅษี ซึ่งเป็นคณาจารย์ของหริภุญชัย และเป็นผู้สร้างพระศักรพุทธปฏิมาสกุลลำพูน
นอกจากนี้ ยังมีพระอนุสิษฏฤๅษี ซึ่งพำนักอยู่ ณ เขาลตางค์ (เขาหลวงเมืองสวรรคโลก)
พระเปิม เป็นพระที่ขุดพบที่ วัดดอนแก้ว
วัดนี้ตั้งอยู่ในตำบลเวียงยอง
นอกกำแพงเมืองไปทางทิศตะวันออกของแม่น้ำกวง
ต้องข้ามลำน้ำที่สะพานท่าสีห์พิทักษ์
ที่ตั้งของพระอารามนี้อยู่ห่างจากประตูเมืองด้านตะวันออก
(ประตูท่าขุนนาง) ประมาณ 600 เมตร ปัจจุบันเป็นวัดร้าง
และเป็นที่ตั้งของ ร.ร.เทศบาลบ้านเวียงยอง มีซากวัตถุโบราณปรากฏอยู่ เช่น พระพุทธรูปหินทรายปางสมาธิขัดเพชร
ซึ่งชำรุดหักพังอยู่ อีกทั้งที่วัดแห่งนี้ยังพบศิลาจารึกภาษามอญอีก 2 หลัก
การขุดหา พระเครื่องวัดดอนแก้วนี้ มีการขุดค้นกันมานานแล้วในครั้งแรกๆ
ไม่อาจสืบหาหลักฐานได้ ต่อมาในปี พ.ศ.2484-85 ซึ่งเป็นเวลาที่บ้านเมืองอยู่ในระหว่างสงครามอินโดจีน
ประชาชนกำลังตื่นตัวขุดหาพระเครื่องกันทั่วทุกแห่งหน ก็ได้มีการขุดหาพระที่วัดดอนแก้วด้วยการขุดครั้งนี้ได้กระทำตรงบริเวณซากพระ
เจดีย์เก่า ได้พระเป็นจำนวนมาก เช่น พระเปิม พระบาง พระฤๅ พระเลี่ยง พระสาม
พระสิบสอง พระสิบแปด และพระกล้วย ตลอดจนพระแผงต่างๆ หลายพันองค์ ถึงกับต้องใช้ตะกร้าหาบ
การขุดดำเนินติดต่อกันไปหลายเดือน ต่อมาคณะกรรมการจังหวัดต้องประกาศห้ามจึงได้เลิกขุดกันไป
ในสมัยนั้นการพบพระเปิม ซึ่งชาวบ้านได้ขุดพบ
ก็ได้ตั้งชื่อเรียกเอาตามลักษณะที่พบคือคำว่า "เปิม"
เป็นคำเมืองเดิม มีความหมายว่า แป้น ป้าน หรื?
พระเปิม ลำพูน
- Product Code: w-013
- Availability: In Stock
-
$0.00
Tags: พระเปิม ลำพูน